ระบบการผ่านพิธีการศุลกากรทางอินเทอร์เน็ตในด้านการส่งสินค้าออกเป็นบริการรูปแบบใหม่ที่พัฒนาโดยกระทรวงการคลัง และกรมศุลกากร เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ส่งสินค้าออกนอกเหนือจากการผ่านพิธีการศุลกากรผ่าน EDI VAN ที่กรมศุลกากรได้ให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ผู้ส่งออกหรือตัวแทนออกของสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละราย
หากท่านจะดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เมื่อท่านต้องการส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศ และ หรือนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศก็ตาม ท่านจะต้องดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากร ตามระเบียบปฏิบัติที่กรมศุลกากรกำหนดในปัจจุบัน ระบบการผ่านพิธีการศุลกากรทางอินเทอร์เน็ต ที่ท่านกำลังใช้อยู่นี้ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่กระทรวงการคลังได้จัดทำขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้นำเข้า / ส่งออก และตัวแทนออกของรายย่อย
ประการสำคัญ ก่อนที่ท่านจะใช้ระบบการผ่านพิธีการศุลกากรทางอินเทอร์เน็ต ท่านจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับพิธีการศุลกากร พิกัดอัตราศุลกากร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นอย่างดี รวมทั้งท่านจะต้องทำความเข้าใจ ศึกษาข้อมูล คำแนะนำต่าง ๆ ที่บรรจุอยู่ใน Web site ทั้งหมด อย่างถ่องแท้ เสียก่อน ท่านจึงจะสามารถตระเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศ และ หรือนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
ขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นจนกระทั่งสามารถส่งของออก และ หรือนำของเข้า ท่านต้อง ดำเนินการ ดังนี้ |
1. ทำบัตรผู้จัดการ |
2. จัดเตรียมเอกสารทางการค้าต่าง ๆ ที่จำเป็นในการผ่านพิธีการฯ |
3. ส่งข้อมูลใบขนสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตมายังกรมศุลกากร เพื่อตรวจสอบ |
4. พิมพ์ใบขนสินค้าที่ได้รับเลขที่ใบขนสินค้าแล้ว |
5. ยื่นเอกสารใบขนสินค้า และเอกสารประกอบ ณ สถานที่ผ่านพิธีการที่ระบุไว้ในใบขนสินค้า กรณี Red Line เท่านั้น |
6. ชำระอากร (ถ้ามี) |
7. ยื่นเอกสารใบขนสินค้า และเอกสารประกอบ พร้อมกับสินค้า ณ. จุดตรวจปล่อย
1. ทำบัตรผู้จัดการ |
|
บัตรเจ้าของหรือบัตรผู้จัดการ (Owner or Manager Card) เป็นบัตรที่กรมศุลกากรออกให้กับผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของหรือผู้จัดการบริษัท ห้าง ร้าน ที่นำของเข้า หรือ ส่งของออก ใช้ในการ ตรวจสอบว่าเจ้าของหรือผู้จัดการบริษัท ที่ลงลายมือชื่อในใบขนสินค้า และเอกสารประกอบในการผ่านพิธีการศุลกากร เป็นคนเดียวกับที่ลงลายมือชื่อไว้ในบัตรฯ ดังกล่าว การขอมีบัตรฯ (Smart Card)
|
ผู้ขอมีบัตรฯ ยื่นคำร้องขอมีบัตร ณ ฝ่ายทะเบียนผู้ส่งออกและนำเข้า สำนักงานเลขานุการกรม กรมศุลกากร และลงลายมือชื่อและ/หรือประทับตราบริษัท ห้าง ร้าน ในแบบตรวจเอกสารฯ ต่อเจ้าหน้าที่บริษัทผู้ให้บริการจัดทำ Smart Card ซึ่งเป็นบริษัท ที่กรมอนุมัติให้ดำเนินงานจัดทำบัตร เพื่อใช้ในการผ่านพิธีการศุลกากรในรูปแบบ Smart Card |
|
เจ้าหน้าที่บริษัท ลงลายมือชื่อรับรอง พร้อม วัน เดือน ปี กำกับ ออกใบเสร็จรับเงินค่าทำบัตร และออกหมายเลขลำดับการถ่ายรูป แล้วส่งแบบตรวจเอกสารฯ ให้เจ้าหน้าที่ศุลกากร สั่งพิมพ์บัตร |
|
บัตรประเภทต่าง ๆ มีอายุใช้งานไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันออกบัตร เว้นแต่บัตรผู้รับมอบอำนาจ ให้มีอายุใช้งานไม่เกินวันหมดอายุของบัตรเจ้าของหรือผู้จัดการ |
|
เจ้าของหรือผู้จัดการ ที่ประสงค์จะส่งลายมือชื่อและรูปถ่ายทางไปรษณีย์ ให้จัดส่งลายมือชื่อ พร้อมรูปถ่าย ถึงกรมศุลกากรทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ พร้อมทั้งชำระค่าทำบัตรและค่าส่ง คืนทางไปรษณีย์ ในวันที่ยื่นคำร้องขอมีบัตร | |
2. จัดเตรียมเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นในการผ่านพิธีการศุลกากร ได้แก่ |
|
2.1 เอกสารที่ใช้ในการส่งออก |
2.1.1 |
ต้นฉบับใบขนสินค้าขาออก 1 ฉบับ |
2.1.2 |
คู่ฉบับใบขนสินค้าขาออก เพื่อประโยชน์ทางราชการและเป็นหลักฐานแสดงการส่งออก ผู้ส่งของออกอาจขอเพิ่มคู่ฉบับ ใบขนสินค้าขาออกตามระเบียบที่ได้กำหนดไว้ และให้ยื่นคู่ฉบับใบขนสินค้าขาออกตามที่ขอพร้อมกันกับต้นฉบับ ใบขนสินค้าขาออก |
2.1.3 |
คู่ฉบับใบขนสินค้าขาออกมุมน้ำเงิน เพิ่มเติมแล้วแต่กรณี เช่น ขอรับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร, ส่งเสริมการลงทุน (BOI) , โควต้าส่งออกกระทรวงพาณิชย์ ฯลฯ ใช้แบบฟอร์มใบขนสินค้าขาออก กศก. 101/1 หาซื้อได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมศุลกากร บริเวณห้องโถงกลาง อาคาร 1 ชั้น 1 ราคาชุดละ 5 บาท |
2.1.4 |
บัญชีราคาสินค้า 2 ฉบับ ผู้ส่งของออกต้องยื่นบัญชีราคาสินค้าสำหรับของส่งออกเพื่อประกอบการตรวจสอบ หากมิใช่เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ให้มีคำแปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ และให้ผู้ส่งของออกลงนามรับรองถูกต้อง |
2.1.5 |
แบบธุรกิจต่างประเทศ (ธ.ต.1) (F.T.FOREIGN TRANSACTION) แบบธุรกิจต่างประเทศ (ธ.ต.1) คือ แบบพิมพ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 ใช้สำหรับยื่นประกอบใบขนสินค้าขาออก ซึ่งสินค้าที่ ส่งออก มีมูลค่าเกินกว่า 500,000 บาท ผู้ส่งของออกจะต้องนำมายื่นพร้อมกับใบขนสินค้า ในขณะผ่านพิธีการ แบบฟอร์ม ธ.ต. 1 -- หาซื้อได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมศุลกากร บริเวณห้องโถงกลาง อาคาร 1 ชั้น ราคาเล่มละ 100 บาท |
2.1.6 |
บัญชีรายละเอียดของที่บรรจุหีบห่อ (PACKING LIST) (ถ้ามี) |
2.1.7 |
ใบอนุญาตส่งออกหรือเอกสารอื่น ๆ กรณีที่ของส่งออกนั้น เป็นของต้องกำกัดตามเงื่อนไขของ บทกฎหมายเกี่ยวข้อง |
2.1.8 |
คำร้องประเภทต่าง ๆ (ถ้ามี) | |
2.2 เอกสารที่ใช้ในการนำเข้า |
2.2.1 |
ต้นฉบับใบขนสินค้าขาเข้า 1 ฉบับ |
2.2.2 |
คู่ฉบับใบขนสินค้าขาเข้า เพื่อประโยชน์ทางราชการและเป็นหลักฐานแสดงการนำเข้า ผู้นำของเข้าอาจขอเพิ่มคู่ฉบับ ใบขนสินค้าขาเข้าตามระเบียบที่ได้กำหนดไว้ และให้ยื่นคู่ฉบับใบขนสินค้า ขาเข้าตามที่ขอพร้อมกันกับต้นฉบับใบขนสินค้าขาเข้า ใช้แบบฟอร์มใบขนสินค้าขาเข้า กศก. 99/1 หาซื้อได้ที่ฝ่าย ประชาสัมพันธ์ กรมศุลกากร บริเวณห้องโถงกลาง อาคาร 1 ชั้น 1 ราคาชุดละ 5 บาท |
2.2.3 |
บัญชีราคาสินค้า 2 ฉบับ ผู้นำของเข้าต้องยื่นบัญชีราคาสินค้าสำหรับของนำเข้าเพื่อประกอบการตรวจสอบ หากมิใช่เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษให้มีคำแปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษและให้ ผู้นำของเข้าลงนามรับรองถูกต้อง |
2.2.4 |
แบบธุรกิจต่างประเทศ (ธ.ต.2) (F.T.FOREIGN TRANSACTION) แบบธุรกิจต่างประเทศ (ธ.ต.2) คือ แบบพิมพ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พ.ศ. 2485 ใช้สำหรับยื่นประกอบ ใบขนสินค้าขาเข้า ซึ่งสินค้าที่นำเข้า มีมูลค่าเกินกว่า 500,000 บาท ผู้นำของเข้าจะต้องนำมายื่นพร้อมกับใบขนสินค้า ในขณะผ่านพิธีการ แบบฟอร์ม ธ.ต. 2 - หาซื้อได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมศุลกากร บริเวณห้องโถงกลาง อาคาร 1 ชั้น ราคาเล่มละ 100 บาท |
2.2.5 |
แบบแสดงรายละเอียดราคาศุลกากร (กศก.170) |
2.2.6 |
บัญชีรายละเอียดของที่บรรจุหีบห่อ (PACKING LIST) (ถ้ามี) |
2.2.7 |
ใบอนุญาตนำเข้าหรือเอกสารอื่น ๆ กรณีที่ของนำเข้านั้น เป็นของต้องกำกัดตามเงื่อนไขของบทกฎหมายเกี่ยวข้อง |
2.2.8 |
คำร้องประเภทต่าง ๆ (ถ้ามี) | |
3. ส่งข้อมูลใบขนสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตมายังกรมศุลกากร เพื่อตรวจสอบ |
|
|
4. พิมพ์ใบขนสินค้าที่ได้รับเลขที่ใบขนสินค้าแล้ว |
|
ท่านต้องพิมพ์ข้อมูลที่กรมศุลกากรได้ตรวจสอบว่าถูกต้องแล้ว ลงบนแบบฟอร์ม พร้อมประทับเลขที่ ใบขนสินค้าลงในเอกสารประกอบใบขนสินค้าทุกแผ่น
|
5. กรณี Red Line ยื่นใบขนสินค้า และเอกสารประกอบ ณ สถานที่ผ่านพิธีการที่ระบุไว้ในใบขนสินค้า
|
|
>> กรณี Green Line และต้องชำระค่าภาษีอากร ให้ไปทำข้อ 6 >> กรณี Green Line และไม่ต้องชำระค่าภาษีอากร ให้ไปทำข้อ 7 |
6. ชำระอากร (ถ้ามี) |
|
ท่านสามารถชำระค่าภาษีอากร ณ จุดที่ส่งของออก/นำของเข้า ให้เรียบร้อยเสียก่อน หากสินค้านั้น เข้าลักษณะประเภทสินค้าที่ต้องเสียภาษี ดูรายละเอียดประเภทสินค้าที่ต้องเสียภาษี |
7. ยื่นใบขนสินค้าและเอกสารประกอบ พร้อมกับสินค้า ณ. จุดตรวจปล่อย |
|
นำใบขนสินค้าที่ได้ชำระอากรแล้ว (ถ้ามี) และเอกสารประกอบ พร้อมกับสินค้าไปยังจุดตรวจปล่อยที่ได้ระบุไว้ในใบขนสินค้า |
ผังแสดงขั้นตอนการผ่านพิธีการศุลกากร
| |