ประเภทที่ |
รายการ |
1.
|
ของที่ส่งออก รวมทั้งของที่ส่งกลับออกไป ซึ่งนำกลับเข้ามาภายในหนึ่งปี โดยไม่เปลี่ยนแปลงลักษณะหรือรูปแต่ประการใดและในเวลาที่ส่งออกนั้นได้รับใบสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามาแล้ว |
หมายเหตุ |
อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจที่จะสั่งให้ได้รับการยกเว้นจากบทบัญญัติที่ว่าด้วยใบสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามา หรืออาจอนุญาตให้ขยายกำหนดเวลาออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีได้ |
2.
|
ของที่นำเข้ามาในประเทศไทยซึ่งได้เสียอากรไว้ครบถ้วนแล้ว และภายหลังส่งกลับออกไปซ่อม ณ ต่างประเทศ หากนำกลับเข้ามาภายในหนึ่งปี หลังจากที่ได้รับใบสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามาซึ่งได้ออกให้ในขณะที่ได้ส่งออกแล้ว |
หมายเหตุ |
ก. |
ของที่ได้รับยกเว้นอากรตามประเภทนี้ให้ได้รับยกเว้นเพียงเท่าราคาหรือปริมาณแห่งของเดิมที่ส่งออกไปเท่านั้น สำหรับราคาหรือปริมาณที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการซ่อมให้เสียอากรตามพิกัดอัตราอากรของของเดิมที่ส่งออกไปซ่อม โดยคำนวณจากราคาหรือปริมาณที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการขนส่งและการประกันภัย |
ข. |
อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจที่จะสั่งให้ได้รับการยกเว้นจากบทบัญญัติที่ว่ด้วยใบสุทธิสำหรับนำกลับเข้ามา หรืออาจอนุญาตให้ขยายกำหนดเวลาออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีได้ |
3.
|
ของที่กล่าวไว้ข้างล่างนี้ ถ้านำเข้ามาพร้อมกับตนหรือนำเข้ามาเป็นการชั่วคราว และจะส่งกลับออกไปภายในไม่เกินหกเดือนนับตั้งแต่วันที่นำเข้ามา |
(ก) |
ของที่ใช้ในการแสดงละครหรือการแสดงอย่างอื่นที่คล้ายกัน ซึ่งผู้แสดงที่ท่องเที่ยวนำเข้ามา |
(ข) |
เครื่องประกอบและของใช้ในการทดลองหรือการแสดงเพื่อวิทยาศาสตร์หรือการศึกษา ซึ่งบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว นำเข้ามาเพื่อจัดการทดลองหรือแสดง |
(ค) |
รถสำหรับเดินบนถนน เรือ และอากาศยาน บรรดาที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตน |
(ง) |
เครื่องถ่ายรูปและเครื่องบันทึกเสียง ซึ่งบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว นำเข้ามาเพื่อใช้ถ่ายรูปหรือบันทึกเสียงต่างๆ แต่ฟิล์มและแผ่นสำหรับถ่ายรูปหรือสิ่งที่ใช้บันทึกเสียงซึ่งนำมาใช้ในการนี้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด |
(จ) |
อาวุธปืนและกระสุนปืน ซึ่งบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวนำเข้ามาพร้อมกับตน |
(ฉ) |
ของที่นำเข้ามาเป็นการชั่วคราว โดยมุ่งหมายจะแสดงในงานสาธารณะที่เปิดให้ประชาชนดูได้ทั่วไป |
(ช) |
ของที่นำเข้ามาเพื่อซ่อม แต่ต้องปฏิบัติภายในเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด |
(ซ) |
ตัวอย่างสินค้า นอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 14 ซึ่งบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว นำเข้ามาพร้อมตน และมีสภาพซึ่งเมื่อจะส่งกลับออกไปสามารถตรวจได้แน่นอนว่าเป็นของอันเดียวกับที่นำเข้ามาแต่ต้องมีปริมาณหรือค่า ซึ่งเมื่อรวมกันเข้าแล้วไม่เกินกว่าที่จะเห็นได้ว่าเป็นตัวอย่างตามธรรมดา |
(ญ) |
เครื่องมือและสิ่งประกอบ สำหรับงานก่อสร้าง งานพัฒนาการ รวมทั้งกิจการชั่วคราวอย่างอื่น ตามที่อธิบดีกรมศุลกากรจะเห็นสมควร |
หมายเหตุ |
1. |
ของตามที่กล่าวในประเภทนี้ ผู้นำของเข้าต้องทำสัญญาไว้ต่อกรมศุลกากรว่าจะส่งกลับออกไปภายในกำหนด อธิบดีกรมศุลกากรจะเรียกประกันอย่างใด และเป็นจำนวนเงินเท่าใดก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร และจะคืนเงินหรือให้ถอนหลักประกันที่วางไว้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามสัญญาโดยครบถ้วนแล้ว
ระยะเวลาหกเดือนตามที่กำหนดไว้นี้ อธิบดีกรมศุลกากรจะขยายกำหนดระยะเวลาออกไปอีกตามความจำเป็นแก่กรณีก็ได้ |
2. |
คำว่า นำเข้ามาพร้อมกับตน ให้หมายความถึงของที่เข้ามาถึงประเทศไทยไม่เกินหนึ่งเดือนก่อนที่ผู้นำของเข้าเข้ามาถึงหรือไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ผู้นำของเข้าเข้ามาถึงอธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจขยายกำหนดเวลาที่กล่าวข้างต้นได้เมื่อเห็นว่ามีพฤติการณ์พิเศษ |
4. |
รางวัลและเหรียญตราที่ทางต่างประเทศมอบให้แก่บุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อเป็นเกียรติในความดีเด่นทางศิลปะ วรรณกรรม วิทยาศาสตร์ การกีฬา หรือบริการสาธารณะ หรือเพื่อเป็นเกียรติประวัติในความสำเร็จหรือพฤติกรรมอันเป็นสาธารณประโยชน์
แต่เฉพาะรางวัลนั้นจะต้องอยู่ในดุลพินิจของอธิบดีกรมศุลกากรที่จะพึงพิจารณา ตามแต่จะเห็นสมควรอีกส่วนหนึ่งด้วย |
5.
|
ของส่วนตัวที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนสำหรับใช้เองหรือใช้ในวิชาชีพและมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะ เว้นแต่รถยนต์ อาวุธปืนและกระสุนปืน และเสบียง แต่สุรา บุหรี่ ซิการ์ หรือยาเส้น ซึ่งเป็นของส่วนตัวที่ผู้เดินทางนำเข้ามาพร้อมกับตนนั้น อธิบดีกรมศุลกากรอาจออกข้อกำหนดยกเว้นอากรให้ได้ตามที่เห็นสมควรเป็นแห่งๆ ไป แต่ต้องไม่เกินปริมาณดังนี้ |
(ก) |
บุหรี่สองร้อยมวน หรือซิการ์หรือยาเส้นอย่างละสองร้อยห้าสิบกรัม หรือหลายชนิดรวมกันมีน้ำหนักทั้งหมดสองร้อยห้าสิบกรัม แต่ทั้งนี้บุหรี่ต้องไม่เกินสองร้อยมวน |
(ข) |
สุราหนึ่งลิตร |
6.
|
ของใช้ในบ้านเรือนที่ใช้แล้ว ที่เจ้าของนำเข้ามาพร้อมกับตนเนื่องในการย้ายภูมิลำเนา และมีจำนวนพอสมควรแก่ฐานะ |
หมายเหตุ |
ของส่วนตัวและของใช้ในบ้านเรือนตามประเภทที่ 5 และ 6 นั้น จะต้องนำเข้ามาถึงประเทศไทยไม่เกินหนึ่งเดือนก่อนที่ผู้นำของเข้า เข้ามาถึงหรือไม่เกินหกเดือนนับแต่วันที่ผู้นำของเข้าเข้ามาถึงอธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจขยายกำหนดเวลาที่กล่าวข้างต้นได้เมื่อเห็นว่ามีพฤติการณ์พิเศษ |
7.
|
ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของอากาศยานหรือเรือ รวมทั้งวัสดุที่นำเข้ามาเพื่อใช้ซ่อมหรือสร้างอากาศยานหรือเรือ หรือส่วนของอากาศยานหรือเรือดังกล่าว |
หมายเหตุ |
การยกเว้นอากรรวมทั้งของที่ได้รับยกเว้นอากรตามประเภทนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด ด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง |
8.
|
น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหยอดเครื่อง และสิ่งที่ใช้ในการหล่อลื่นที่เติมในอากาศยาน หรือในเรือที่มีขนาดเกินกว่าห้าร้อยตันกรอสส์ ซึ่งศุลกากรได้ปล่อยให้ไปต่างประเทศแล้ว |
หมายเหตุ |
อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจในอันที่จะทำให้บทยกเว้นนี้บังเกิดผล โดยวิธีคืนเงินอากรที่ได้ชำระแล้วให้แก่ผู้นำของเข้าในเมื่อได้พิสูจน์ให้เป็นที่พอใจว่าของดังกล่าวได้จำหน่ายหรือใช้ไปเพื่อการนี้ |
9. |
พืชผลที่ผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยปลูกในเกาะดอนและที่ชายตลิ่งแม่น้ำซึ่งกั้นเขตแดนประเทศไทย |
10. |
ของที่ได้รับเอกสิทธิ์ ตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติ หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ หรือตามสัญญากับนานาประเทศ หรือทางการทูตซึ่งได้ปฏิบัติต่อกันโดยอัธยาศัยไมตรี |
11.
|
นอกจากรถยนต์ตามประเภทที่ 8703.10 8703.21 8703.222 8703.229 8703.232 8703.239 8703.242 8703.249 8703.312 8703.319 8703.322 8703.329 8703.332 8703.339 8703.90 8704.211 8704.311 และ 8704.901 ในภาค 2 ของที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังว่าเป็นของที่นำเข้ามาหรือส่งออกไปเพื่อบริจาคเป็นการสาธารณกุศลแก่ประชาชนโดยผ่านส่วนราชการหรือองค์การสาธารณกุศล หรือเป็นของที่นำเข้ามาเพื่อให้แก่ส่วนราชการหรือองค์การสาธารณกุศล |
หมายเหตุ |
คำว่า ส่วนราชการ หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐ แต่ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ |
12. |
ของที่นำเข้าโดยทางไปรษณีย์ ซึ่งแต่ละหีบห่อมีราคาไม่เกินห้าร้อยบาท |
13. |
ยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในทางราชการ |
14. |
ตัวอย่างสินค้าทิ่ใช้ได้แต่เพียงเป็นตัวอย่างและไม่มีราคาในทางการค้า |
15. |
ภาชนะบรรจุของชนิดที่ใช้บรรจุของเพื่อความสะดวกหรือความปลอดภัย ใน การขนส่งระหว่างประเทศ ที่เรียกว่า คอนเทนเนอร์ ซึ่งนำเข้าและจะส่งกลับออกไป ไม่ว่าจะโดยมีของบรรจุอยู่หรือไม่ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด |
16.
|
ของที่นำเข้ามาสำหรับคนพิการใช้โดยเฉพาะ หรือใช้ในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด ด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง |
หมายเหตุ |
คำว่า คนพิการ และ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ |
17. |
ของที่พิสูจน์ให้เป็นที่พอใจของอธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากรมอบหมายว่าเป็นของที่จำเป็นต้องนำเข้ามาเพื่อใช้ในการประชุมระหว่างประเทศ และมีปริมาณพอสมควรแก่การนั้น ทั้งนี้ผู้นำของเข้าจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากรมอบหมายกำหนด |
18. |
ของส่งออกซึ่งพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจอธิบดีกรมศุลกากรว่าเป็นของที่ได้นำเข้ามาไม่เกินสองปี และยังมิได้เปลี่ยนแปลงลักษณะหรือรูปแต่ประการใด |